วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติการเดินรถโดยสารในประเทศไทย และบริษัทขนส่ง

ประวัติการเดินรถโดยสารในประเทศไทย และบริษัทขนส่ง
     การขนส่งโดยรถยนต์ และรถโดยสารในประเทศไทย เริ่มครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 5 ประมาณ 3 ปี หลังจากเปิดการเดินรถไฟสายแรก(กรุงเทพฯ-อยุธยา) โดยมีชาวต่างชาติสั่งรถยนต์เข้ามาใช้ในประเทศไทย
แต่ไม่ทราบว่าเป็นยี้ห้อใด ลักษณะของรถคล้ายกับรถบดถนน ล้อยางตัน มีหลังคาเป็นปะรำ มีที่นั่งสองแถว ใช้น้ำมันปิโตรเลียม ไฟหน้าลักษณะคล้ายเตาฟู่ เช่นเดียวกับรถยุคแรกๆ ส่วนใหญ่เครื่องยนต์มีกำลังเพียงพอสำหรับวิ่งบนที่ราบ แต่ไม่เพียงพอที่จะขึ้นสะพานได้ ข้อด้อยดังกล่าวจึงจึงทำให้การใช้งานมีขีดจำกัด เนื่องจากบางกอกสมัยนั้นใช้การขนส่งทางเรือเป็นหลัก สะพานข้ามคลองจึงต้องยกสูงเพื่อให้เรือลอดได้ แต่กลับเป็นปัญหาสำคัญในการใช้รถยนต์ หรือยวดยานที่มีล้อ
หลังจากนำรถยนต์เข้ามาในเมืองไทยได้ไม่นาน ชาวต่างชาติผู้นั้นก็ขายต่อให้แก่ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ก่อกำเนิดยุครถยนต์ในประเทศไทย เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นคนหัวสมัยใหม่ นิยมชมชอบในเรื่องเครื่องยนต์กลไก ทั้งใฝ่รู้ในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และพอใจที่จะเป็นเจ้าของเครื่องยนต์กลไกแปลกใหม่ ในทันทีที่มีการจำหน่าย

     ต่อมากรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นผู้นำรถยนต์จากยุโรปเข้ามาเป็นคันแรก แล้วได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นรถพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการให้สั่งซื้อรถยนต์แบบใหม่ ๆ ของสมัยนั้นเข้ามาอีกหลายสิบคัน เพื่อพระราชทานแจกจ่ายแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
(เจิม แสงชูโต)
รถยนต์ระยะแรกๆที่เข้าสู่ประเทศไทย
 
     ต่อมาในปี พ.ศ.2451 ได้มีรถโดยสารประจำทางขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นของพระยาภักดีนรเศรษฐ ผู้ให้กำเนิดรถเมล์ขาวเดินรับส่งผู้โดยสารจากประตูน้ำ สระปทุม กับบางลำภู นับได้ว่าเป็นการเริ่มทำการขนส่งด้วยรถโดยสารขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการจราจร เพราะแต่เดิมถนนมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับรถลากจูงและ เทียมม้ากับรถส่วนบุคคลพอมีรถโดยสาร ทำให้ถนนที่มีขนาดความกว้างไม่สัมพันธ์กับตัวรถโดยสาร จึงทำให้ถนนแคบลงและเกิดอุบัติเหตุอยู่เนือง ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงตราพระราชบัญญัติถยนต์เป็นฉบับแรกขึ้นเมื่อ ร.ศ.128 ขึ้นตรงกับ พ.ศ.2453 พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้วางระเบียบการเดินรถและขับรถขึ้นไว้ และขับรถขึ้นไว้ และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.ศ.129 หรือ พ.ศ.2454 เป็นต้นมา
     ในระยะต่อมาได้มีการพัฒนาถนนอย่างมากมายรอบ พระนครตลอดจนได้มีการพัฒนาทางด้านรถยนต์มากขึ้นประชาชนและผู้มีฐานะดี จึงหันมานิยมการสัญจรด้วยรถยนต์กันมากและมีผู้เล็งเห็นประโยชน์ในการเดินรถทางสัญจรไปมา จึงได้มีกลุ่มบุคคลรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทขึ้นสั่งรถยนต์ทั้งส่วนบุคคลและรถโดยสารเข้ามา ในประเทศมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นทางราชการจึงได้ตราพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473ขึ้นเพื่อใช้บังคับให้มีการจดทะเบียนรถยนต์แสดง ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของรถยนต์ พร้อมกันนั้นก็ใช้บังคับให้เจ้าของรถยนต์ เสียภาษีในการมีรถยนต์ให้แก่รัฐ

นายเลิศ หรือ พระยาภักดีนรเศรษฐ
รถเมล์นายเลิศ
 
      ใน พ.ศ.2473 นี้เอง ได้มีกลุ่มนักธุรกิจเอกชนกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งบริษัทเดินอากาศ จำกัด ขึ้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Aerial Transport of Siam Company Limited เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2473 ประกอบด้วยผู้ริเริ่มดัง นี้ 1) พระยาเชาวนานุสถิติ (เชาว์ อินทุเกตุ) 2) พระยาภิรมย์ ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร์) 3) พระยาภักดีนร เศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร์) 4) นายกิมพงษ์ ทองธัช 5) นายอี รอนเลซ (E. Ronlez) 6) นายอ๊อตโต เปรก เกอร์ (Otto Preagor) 7) นายเอชยี โมโนด์ (H.G. Monod) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ตึกนภาวิถี สี่พระยา ถนนฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงค์ อำเภอบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ ชุดแรกประกอบด้วย 1) พระยาเชาว นานสถิติ (เชาว์ อินทเกตุ) เป็นประธานกรรมการ 2) พระยาภิรมย์ภักดี 3 ) พระยาภักดีนรเศรษฐ 4 ) นายอ๊อตโต เปรกเกอร์ 5) นายเอซ คริสเตียนเสน 6) นายกิมพงษ์ ทองธัช 7)นายอาร์ บี แจ๊คสัน เป็นกรรมการผู้จัดการ มีทุนจดทะเบียน 600,000 บาท โดยแบ่งออกเป็นหุ้นจำนวน 6,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ชำระครั้งแรกหุ้นละ 25 บาท เป็นเงินดำเนินกิจการเริ่มแรก 150,000 บาท ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 2 ประเภท ได้แก่กิจการบินพาณิชย์ กิจการเดินรถ โดยได้เปิดสายการบินพาณิชยเป็นครั้งแรกภายในประเทศ ไทย ได้ทำการก่อสร้างสนามบินและท่าอากาศยานขึ้นณ บริเวณต่าง ๆ ที่เปิดสายการบินไปถึง นอกจากนี้ยังมีสนามบินน้ำอีก 2 ที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี กับที่สนามบินน้ำปากเกร็ด จ.นนทบุรี แล้วย้ายไปยังสนามบินน้ำคลองเตยเมื่อปี 2489 เครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องบินแฟร์ไชลดด์และยี่ห้อพุสมอส ใช้อักษร ขส. นำหมายเลขข้างตัวถังเครื่องบิน ในช่วงนี้ เครื่องบินของบริษัทฯ ใช้เครื่องหมายรูปช้างสามเศียร สีแดงนอกจากนี้เป็นตัวแทนสายการบินพาณิชย์ต่างประเทศทำหน้าที่เก็บ ค่าการบินพาณิชย์ต่างประเทศ เพราะสัมปทานการบินพาณิชย์ที่รัฐบาลไทยให้ไว้แก่บริษัทการบินพาณิชย์ต่างประเทศนั้น มีเงื่อนไขในสัญญาว่า เมื่อสายการบินพาณิชย์ต่างประเทศ ได้รับสัมปทานให้ทำการบินในประเทศไทยได้แล้วจะ ต้องให้บริษัทเดินอากาศจำกัดของไทย เป็นตัวแทนให้แก่บริษัทการบินพาณิชย์ ต่างประเทศนั้น ๆ
     สำหรับกิจการบินพาณิชย์นอกประเทศ บริษัทฯ ได้รับนโยบายจากทางราชการให้เปิดสาย การบินไปต่างประเทศได้แก่ โซนัน(สิงค์โปร์) ย่างกุ้ง ไซ่ง่อน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะญี่ปุ่น เริ่มแผ่ขยายอิทธิพลครอบคลุม ไปทั่วภาคพื้นทวีปอาเซีย
     กิจการด้านการเดินรถในระยะเริ่มแรก ได้เปิดกิจการควบคู่กับการบินพาณิชย์ โดยเปิดการเดินรถจากหัวลำโพงไปยังดอนเมือง รังสิต และท่าช้างวังหลวงไปยังสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี ผลจากการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อาจจะเป็นกิจการใหม่ประชาชนหันมานิยมใช้บริการกันมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2479 จนถึง 2482 ประเทศไทยได้เข้าฝรั่งเศส ประเทศไทยได้เข้าสู่สภาวะสงครามอินโดจีน ผู้ซึ่งเป็นชนชาติอังกฤษ เช่นเช่น นายอาร์บี แจ็คสัน และผู้ก่อตั้งสัญชาติอังกฤษ ต้องเดินทางออกนอกประเทศ เป็นผลให้ในปี พ.ศ.2482ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากบริษัทเดินอากาศ จำกัด เป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด
     เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด แล้วก็ยังใช้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดิม คือ Aerial Transport of Siam Company Limited เปลี่ยนผู้จัดการเป็นพระยาเชาวนานุสถิติ (เชาว์ อินทุเกตุ) จากปี พ.ศ. 2482-2484 สงครามโลกครั้งที่ 2ได้เริ่มขึ้นจากประเทศยุโรปและลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกในทวีปอาเซีย ญี่ปุ่นยกกำลังเข้ายึดครองประเทศต่าง ทั่วทวีปอาเซีย รวมทั้งได้ยกพลขึ้นบกเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ภาวะสงครามได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกิจการของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการบิน
     การเดินรถในสภาวะสงคราม ไม่สามารถจัดการเดินรถได้ตามปกติ เพราะรัฐบาลได้ให้รถ สนับสนุนทางราชการ โดยเฉพาะรับ-ส่ง คณะกรรมการรับมอบดินแดนบางส่วนคืนจากประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2484; จำนวน 8 คัน และในปี พ.ศ. 2485 บริษัทได้รับมอบรถโดยสาร จำนวน 25 คัน รถจักรยานยนต์ 1 คัน จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นหุ้นในบริษัทถึง 160,000 บาทเป็นจำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นละ100 บาท โดยบริษัทออกใบหุ้นให้สำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็น ผู้ถือ ส่วนรถโดยสารทั้งหมดนำไปเดินเส้นทางจากศาลาเฉลิมกรุง กรุงเทพมหานคร ไปยังสมุทรปราการ บางปู บางปะกง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สัตหีบ ระยอง กับได้รับมอบนโยบายเปิดการเดินรถในจังหวัด ที่ประเทศไทยได้รับมอบดินแดนคืนจากประเทศเขมร ได้แก่สายอรัญประเทศไปพระตะบอง อรัญประเทศ พิบูลสงครามไพรีระย่อเดช โดยบริษัทฯ เช่าสถานีในเขตจังหวัดพระตะบองเป็นที่ ทำการเดินรถนอกจากนี้ในช่วงดังกล่าว บริษัทฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ทำการเดินรถขึ้นอีก 3 สาย คือสายกรุงเทพมหานคร ไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ไปตะพานหิน ทางแยกวังชมพู ไปหล่มเก่า ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในช่วงของสงครามบริษัทฯ ไม่สามารถจะจัดรถเดินตามปกติได้ เพราะต้องนำรถโดยสารบางส่วนไปช่วยสนับสนุนทางราชการ ดังได้กล่าวมาแล้ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ทำให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบกระเทือนเฉพาะด้านการเดินรถ จนไม่สามารถดำเนินกิจการได้เพราะ น้ำมันขาดแคลนต้องจ้างบริษัทบางกอกด๊อก จำกัด ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ เพื่อใช้ถ่านแทนน้ำมัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ปัญหาเรื่องยาง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ขาดแคลน เพราะเป็นภาวะหลังสงคราม เศรษฐกิจตกต่ำ เครื่องอุปโภคมีราคาสูงรายได้ประชากรต่ำลง ดังนั้นในปี 2498 บริษัทฯ ได้แจ้งสถานการณ์ของบริษัทฯ ไปยังทางราชการพร้อมทั้งเสนอความเห็นขอรับความช่วยเหลือต่อทางรัฐบาลข้อเสนอของบริษัทฯ ไม่ได้ตอบสนองจากทางรัฐบาลเพราะรัฐบาลเองก็ประสบปัญหาในการกอบกู้ประเทศ ดังนั้น เมื่อสุดที่จะแก้ไขปัญหาได้ เพราะกิจการบินต้องหยุดโดยเด็ดขาดจากภาวะสงคราม กิจการเดินรถก็มีผลกระทบเช่นเดียวกันจนไมสามารถดำเนินการได้ จึงให้คงสัมปทานไว้เพียง 2 สาย คือสายกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง) ไปรังสิตและกรุงเทพมหานครไปจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้รถโดยสารที่เหลือพอซ่อมออกเดิน ได้เข้าเดินเพื่อรักษาเส้นทางคมนาคมไว้ และพร้อมกันนี้ก็ปลดพนักงานแทนการเลิกกิจการ โดยพิจารณาระบายพนักงานและช่างออกร้อยละ 70 ของพนักงานทั้งหมด และในปีเดียวกันนี้เอง ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากตึกนภาวิถี สี่พระยา ไปอยู่กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคมท่าช้าง วังหน้า ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นโรงละครแห่งชาติและวิทยาลัย นาฏศิลป์) ส่วนแผนกการบินก็ยังอยู่ที่ตึกสภาวิถี สี่พระยา ตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ย้ายสำนักงานใหญ่จาก กรมการขนส่งทางบกไปอยู่ที่ตึกนภาวิถี สี่พระยาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2489 ย้ายสำนักงานทั้งหมดไปรวมอยู่ที่แผนกี่เดินรถหลังศาลาเฉลิมกรุง และย้ายสำนักงานใหญ่จากหลังศาลาเฉลิมกรุงไปอยู่เลขที่ 196-198 ท่าช้างวังหลัง ถนนหน้าพระลาน อ.พระนคร จ.พระนคร ในปี พ.ศ.2490 และในปีเดียวกันนี้ได้ยุบเลิกกิจการการบิน (ต่อมาภายหลังตั้งเป็นบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ในปัจจุบัน) ให้บริษัท้ขนส่ง จำกัด ควบเข้ากับบริษัทเรือไทย จำกัด ทำการเดินรถและเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาในปี พ.ศ.2490 เป็นต้นมา
 

     เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2492 บริษัทฯได้รับความยินยอมจากรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง ให้กู้เงินจากธนาคารออมสินได้ 10 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินรายนี้ให้บริษัทฯ จึงได้ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารออมสิน 8 ล้าน 5 แสนบาท ส่วนยอดเงินที่ได้รับอนุมัติให้กู้ที่ยังเหลืออยู่ 1 ล้าน 5 แสนบาท จึงจะครบ 10 ล้านบาท

     ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ.2496 บริษัทฯ ได้กู้เงินจากธนาคารออมสินเพิ่มอีก 15 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อขยายกิจการเดินรถประจำทาง และได้นำเงิน 12 ล้านบาท ไปซื้อรถโดยสารสำเร็จรูปจากต่างประเทศ 2 ชนิดคือ อีซูซุ 30 คัน เซ้ดดอน 50 คัน รถใช้สอย คันรวม 86 คัน เงินที่เหลืออีก 3 ล้านบาท ได้จัดซื้ออุปกรณ์การซ่อมเครื่องอะไหล่สร้าง โรงเก็บรถสร้างที่อยู่ เจ้าหน้าที่ จัดหาที่ดินบูรณะอาคารที่จำเป็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
     ในช่วงปี 2493 ถึง 2501 กิจการเดินเรือเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบจากการสร้างเขื่อนชัยนาท เป็นผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาบางตอน ตื้นเขิน เรือเดินไม่สะดวก รวมทั้งในช่วงดังกล่าวกฎหมายเปิดโอกาสให้ เอกชนสามารถลงทุนต่อเรือโดยสารเดินตามลำน้ำต่าง ๆ ได้โดยเสรีเป็นผลให้เรือของบริษัทฯ ซึ่งมีอายุใช้งานมานานและเริ่มล้าสมัย ในที่สุดจำเป็นต้องหยุดกิจการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา
     แม้ประชาชนและผู้แทนราษฎร์ในสมัยนั้น ขอให้เปิดทำการเดินเรือต่ออีก โดยร้องเรียนผ่านทางรัฐบาล แต่บริษัทฯ ก็ไม่สามารถสนองต่อนโยบายของรัฐได้เพราะค่าใช้จ่ายในการซ่อม ค่าอะไหล่สูงขึ้น และของบางอย่างหาได้ยากในท้องตลาดเพราะเรือมีอายุใช้งานเกินกว่า 10 ปี ขึ้นไปรวมทั้งมีเรือเอกชนที่ทันสมัยกว่าออกมาเดินรับ-ส่งผู้โดยสาร ด้วยกำลังที่สูงกว่าจึงเป็นผลให้ต้องหยุดดำเนินกิจการโดยเด็ดขาด เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2501 แล้วขายเรือทั้งหมดคงเหลือแต่เพียงเรือ "มหาราช" เพียงลำเดียวไว้เป็นอนุสรณ์ของบริษัทฯ และให้เช่าทัศนาจรในเวลาต่อมา และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษาาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ ในวันที่ 5 ธ.ค. 2542 ประกอบกับการที่พระองค์ ทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาทรงมี พระราชประสงค์ให้พสกนิกรของพระองค์ได้รับการศึกษา อย่างทั่วถึงร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการเรือห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมถวายเป็นราชสักการะ เนื่องในพิธีมหามงคล 2542 นี้ โดยพิธีส่งมอบจัดขึ้น ณ อู่กัปตัน เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันพุธที่ 22 ธ.ค.2542

 
     เมื่อกิจการเดินเรือและกิจการเดินรถได้ควบเป็นกิจการเดียวกันตามนโยบายของทางราชการ ปรากฏว่าบริษัทเรือไทยได้พ่วงหนี้สินติดมาด้วยส่วนบริษัทขนส่ง จำกัด ก็มีหนี้สินเดิมอยู่เมื่อรวมหนี้สินเข้าด้วยกันแล้ว เป็นยอดรวมถึง4,934,487.56 บาททั้งนี้ บริษัททั้งสองได้เสื่อมโทรมมาจากภัยสงคราม เป็นผลให้การดำเนินกิจการและสถานะทาง การเงินของบริษัททรุดหนัก ต้องปลดพนักงานออกอีกระลอกหนึ่ง จำนวน 84 คน เมื่อ พ.ศ. 2490
     การเดินรถก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้มีการจัดซื้อรถมาทดแทน คงใช้รถเก่าเดินตามเส้นทางต่าง ๆ รวม 7 เส้นทาง ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงสุด และรถบางคันไม่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำออกบริการประชาชน ซึ่งต้องปลดระวาง ทำให้รถมีจำนวนน้อยลงไม่เพียงพอบริการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2490 จนถึงปี 2501 บริษัทฯ ประสบกับการขาดทุน และไม่สามารถหาเงินมาชำระ ให้แก่ธนาคารออมสินได้ทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยรวมกันสูงถึง 40; ล้านบาทเป็นผลให้รัฐบาลชุด คณะปฏิวัติที่เข้ามาบริหารประเทศในปี 2501ทำการปรับปรุงกิจการใหม่ โดยเปลี่ยนกรรมการบริษัทฯ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารทั้งต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ ได้มีผู้นิยมลงทุนกันจัดเป็นรูปบริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบธุรกิจการขนส่งด้วยรถโดยสาร จากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรัศมีไม่เกิน300 กิโลเมตร สำหรับในกรุงเทพมหานครนั้นก็มีผู้ประกอบการถึง 28 รายได้รับสัมปทานเดินรถโดยสาร ส่วนในต่างจังหวัดทางราชการยังมิได้มีการกำหนดเส้นทางสัมปทาน และควบคุมการเดินรถนี้เองทำให้ผู้ประกอบ การทำการแข่งขันกันจนเป็นผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ตลอดเวลานอกจากนั้นที่สำคัญ การดำเนินการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือที่เรียกว่าพวกบุคคลอันธพาล ที่คุมการเดินรถและเรียกเก็บผลประโยชน์ค่าคุ้มครองจากเจ้าของรถ หรือผู้ประกอบการทุกแห่ง ปัญหาเรื่องบุคคลเป็นภัยของสังคมหรือบุคคลอันธพาลเหล่านี้ จึงเป็นปัญหาของสังคมไทยช่วงปี 2490-2501 ในที่สุดผู้บริหารประเทศในขณะนั้น จึงทำการกวาดล้างบุคคลดังกล่าว และจับกุมข้อหาบุคคลที่เป็นภัยของสังคมจนหมดสิ้น เมื่อ พ.ศ. 2502 ปรากฎว่าอุบัติเหตุซึ่งเกิดจากรถยนต์รับ-ส่งผู้โดยสารต่างจังหวัดมีมากขึ้น เนื่องจากประชาชนนิยมซื้อรถยนต์จากผู้ขายก็สามารถซื้อได้ด้วยการผ่อนส่ง เมื่อจำนวนรถมีมากเกินความจำเป็น ก็เป็นเหตุให้มีการวิ่งแย่งรับส่งผู้โดยสารด้วยการขับรถเร็ว และขับแซงเพื่อมุ่งไปแย่งรับคนโดยสารในจุดข้างหน้าจึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ รัฐบาลในสมัยปฏิวัติจึงได้มอบหมายนโยบายการจัดการเดินรถ โดยให้ บขส. เป็นแกนกลางดำเนินการรวบรวมรถโดยสารของเอกชนเข้ามาร่วม จึงเป็นจุดเริ่มแรกของการมีรถร่วมพร้อมทั้ง รัฐบาลได้มอบสัมปทานแก่ บขส.เพื่อควบคุมการเดินรถในเขตสัมปทานรวม 25 จังหวัด เหตุที่ควบคุมเพิ่มขึ้นเพียง 25 จังหวัด ก็เพราะขณะนั้นอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของ บขส. และเจ้าหน้าที่ทางราชการ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบยังมีน้อย จึงได้เลือกควบคุมเฉพาะในเขตจังหวัดที่มีรถยนต์วิ่งจากกรุงเทพฯ ออกไปยังจังหวัดนั้น ๆ ก่อนคือภาคเหนือไปสุดที่จังหวัดนครสวรรค์ ภาคใต้ไปสุดที่จังหวัดชุมพรภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปสุดที่นครราชสีมา ภาคตะวันออกไปสุดที่จังหวัดปราจีนบุรี และภาคตะวันออกสายเลียบชายฝั่งทะเลไปสุด ที่จังหวัดตราด
เมื่อได้พิจารณาเส้นทางดังกล่าวนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าแต่ละเส้นทาง จะต้องใช้รถยนต์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คัน จึงจะเพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน และจากผลการสำรวจของเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ซึ่งได้ออกไปทำการสำรวจก่อนที่จะได้มีการควบคุมนั้นปรากฏว่าบรรดา รถยนต์ที่มีวิ่งอยู่เดิมส่วนมาก เป็นรถของเอกชนคนละคันสองคัน และก็ไม่มีผู้ใดที่มีรถของตนเองมากเกิน 100 คันพอที่จะรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบการสายใดสายหนึ่งได้ ถ้าจะอนุญาตให้ทุกคนที่เดินอยู่เดิมเป็นผู้ได้รับอนุญาต การแข่งขันและแก่งแย่งก็คงมีอยู่อย่างเดิมการ ประกาศควบคุมก็จะไม่มีความหมาย ตราบใดที่ผู้ประกอบการยิ่งมากราย การควบคุมก็ยิ่งลำบาก ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลตามเจตนารมย์ของกฏหมาย จุดมุ่งหมายของการควบคุมก็เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง สามารถจะดำเนินกิจการให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยเท่าที่ควร แต่ทางราชการไม่มีความประสงค์ที่จะไปตัดอาชีพ หรือแย่งอาชีพของเอกชนที่เดินอยู่เดิมแต่ประการใด ประกอบกับขณะนั้น บขส.ก็ได้มีรถยนต์ของตนเดินอยู่ในเส้นทางบางเส้นทางอยู่แล้ว เพื่อตรึงอัตราค่าโดยสารไม่ให้สูงเกินสมควรตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งถ้าหากจะให้ บขส. เป็นผู้ได้รับอนุญาตมีเงื่อนไขให้ต้องยอมรับรถโดยสารของเอกชนที่เดินอยู่ก่อน ควบคุมได้เดินร่วมในนามของ บขส. ได้ ถ้าการเข้าร่วมเดินเกินกว่าความจำเป็นที่ บขส.จะต้องพึงจ่ายในการให้ร่วมนี้ ซึ่งประมาณแล้วไม่เกิน 5% ของรายได้รวมของรถแต่ละคัน เพราะปรากฏจากผลการสำรวจของเจ้าหน้าที่ว่าเอกชนที่เดินอยู่เดิมส่วนมากก็ต้อง เสียผลประโยชน์ให้แก่บุคคลหรือคณะบุคคลที่มาควบคุมรถของเอกชนนั้นอยู่แล้วประมาณ 15% ของรัฐได้ ซึ่งถ้าหากจะต้องเสียให้แก่ บขส. ไม่เกิน 5% บรรดาเจ้าของรถก็คงพอใจเพราะได้เสียน้อยลงและอีกประการหนึ่ง บขส. เป็นบริษัทของรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมถือหุ้นอยู่เกือบ 100% หากบริษัทดำเนินการไม่เป็นไปตามนโยบายที่กระทรวงคมนาคมมอบหมาย หรือสั่งการไว้ กระทรวงคมนาคมในฐานะหุ้นใหญ่ ก็่ย่อมใช้สิทธิลงโทษผู้บริหารของบริษัทฯ หรือจะถอนการอนุญาตเสียเมื่อใดก็ย่อมใช้สิทธิลงโทษผู้บริหารของบริษัทฯ หรือถอนการอนุญาตเสียเมื่อใดก็ย่อมทำได้ เนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งฯ ได้พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบแล้วเห็นว่าไม่มีทางใดที่ดีกว่า จึงได้มีมติให้ บขส. เป็นผู้ได้รับอนุญาตในการประกอบการเดินรถประจำทางต่างจังหวัดแต่ผู้เดียว โดยมีเงื่อนไขให้ บขส. ต้องยอมรับรถยนต์เอกชนที่เดินอยู่ให้เข้าร่วม ถ้าเจ้าของสมัครใจและจะต้องไม่เรียกเก็บเงินผลประโยชน์จากเข้าของรถเกินกว่าความจำเป็น เงินที่ บขส. ได้รับมานี้ได้นำมาใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้าง และจัดทำสถานีสำหรับเป็นที่จอดดังเช่นที่สถานี ขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ สายเอกมัย และสถานีในต่างจังหวัด (ที่ทำการสถานีขนส่งสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นที่ทำการสำนักงานใหญ่ ที่บริเวณตลาดหมอชิต ถนนพหลโยธิน; โดยการเวรคืนที่ดิน 92 ไร่ ใช้เป็นที่ บขส. จริง 63 ไร่ แล้วเสร็จเปิดใช้เป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2503 ส่วนสถานีขนส่งสายใต้ เป็นที่เช่า 10 ไร่ อยู่ที่สามแยกไฟฉาย ถนน
จรัญสนิทวงศ์ ต่อมาได้ย้ายที่ทำการใหม่ ณ บริเวณถนนบรมราชนนี ทางไปพุทธมณฑล สาย 2 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน และสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย)สถานที่ตั้งอยู่ปากซอยสุขุมวิท 64 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ของ บขส. เองจำนวน 7 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา นอกจากนี้แล้วได้นำเงินส่วนนี้มาใช้จ่ายในการ จ้างเจ้าหน้าที่นายสถานี นายตรวจ และผู้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเดินรถให้แก่บรรดาเจ้า ของรถร่วมนั้นเองจึงเท่ากับผลประโยชน์ที่บรรดาเจ้าของรถได้เสียให้แก่ บขส. ไปนั้น บขส. ก็ได้นำมาใช้จ่ายในกิจการที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าของรถนั่นเองหา ได้สูญเสียไปไหนไม่ หากาจะมีเหลือก็ตกเป็นของรัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นของประชาชนนั่นเอง


MERZEDEZ BENZ O190 ตัวถังโครงไม้ บุแผ่นอาลูมิเนียม ของบริษัทขนส่งจำกัด วิ่งในเส้นทางสาย 25 ท่าช้าง-ปากน้ำ
 
AUSTIN คัทซีรถบรรทุกสมัยสงครามโลก ต่อตัวถังรถเมล์ สาย 25
 
Desoto สัญชาติฝรั่งเศส วิ่งในเส้นทางสาย 25 ท่าช้าง-ปากน้ำ สัมปทานเป็นของ บขส. แต่ตัวรถเป็นของบริษัทสมุทรปราการขนส่ง เจ้าของคือ จ.อ.เสวก ปลั่งพงษ์พันธ์สถิตย์
 
คัทซีรถบรรทุกยี่ห้อ GMC.ตัวถังโครงไม้ ยาว 5.6 เมตร สาย 25
 
ISUZU เครื่องท้าย ยาว 8.5 เมตร ทรงรถโดยสารญี่ปุ่นวิ่งเส้นทางสาย 28
 
HB.รุ่นเปิดเส้นทางสาย 30 สนามหลวง-นนทบุรี ของบริษัท ศิริมิตรขนส่ง วิ่งร่วมสัมปทานกับ บขส.
 
BENZ O120 ศิริมิตรขนส่ง วิ่งร่วมสัมปทาน บขส.สาย 30
 
 
Deuzt รุ่นเกียร์พวงมาลัย วิ่งสายระยอง-กรุงเทพ
     อนึ่งจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับอนุญาตแล้วมีแต่เอกชนนำรถเข้ามาร่วมเดินเพิ่มขึ้น ไม่เคยมีผู้ใดขอเอารถออกเลย จนกระทั่งมีจำนวนมากเกินความจำเป็น ทางบริษัทฯ ต้องระงับการรับ เมื่อเจ้าของรถไม่เดือดร้อนและเสียหายแล้วจะมีผู้ใดที่ต้องเสียหายหรือ เดือดร้อนบ้าง ซึ่งถ้าหากจะมีก็คือคนกลางที่เคยได้รับผลประโยชน์จากรถเอกชน เมื่อ บขส. เข้ามาดำเนินการแล้วบุคคลดังกล่าวก็ต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่ตนเคยได้นั้นซึ่งบุคคล ประเภทนี้ทางการไม่ประสงค์จะสนับสนุน ตรงกันข้ามทางราชการมีความจำเป็นที่จะต้องหาทาง ป้องกันเพื่อประสงค์จะช่วยบรรดา เจ้าของรถให้พ้นจากการถูกบีบบังคับจากบุคคลประเภทนี้
     จากการร้องเรียนดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรี ได้หยิบยกปัญหานี้มาพิจารณา ซึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ได้ชี้แจงเหตุผลที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งได้มีมติให้ บขส. ได้รับอนุญาตดังกล่าวข้างต้นนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาข้อเท็จจริงประกอบ กับเหตุผลอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว เห็นว่า การที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งได้มีมติไปเช่นนั้น เป็นวิธีการที่ถูกต้องและชอบด้วยเหตุผลทุกประการแล้ว จึงมีมติให้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปดังปรากฏในหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ คค.5860-2502 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2502 แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการดำเนินงานในช่วงปี 2502
     แต่อย่างไรก็ตาม ผลจาการดำเนินงานในช่วงปี 2502 ถึง 2504 ปรากฎว่าบริษัทฯ ประสบกับการขาดทุนอย่างหนักทั้งกิจการเดินรถบริษัท และกิจการบริหารงานบุคคล จนบริษัทไม่สามารถดำเนินการได้ รัฐบาลทราบสถานะและผลการดำเนินงานอย่างดี จึงมีนโยบายจะยุบเลิกกิจ-การบริษัทฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้น (พลเอกพงษ์ ปุณณกัณฑ์) ได้ให้คำมั่นต่อรัฐบาลในการขอปรับปรุงกิจการ บขส.อีกครั้งหนึ่งในปี 2505 นอกจากการปรับปรุงกรรมการบริหารและคณะผู้บริหารแล้ว ยังมีการเลิกจ้างพนักงานของบริษัทฯ ถึง 314 คน การดำเนินงานก็เริ่มดีขึ้นมาเป็นลำดับจากปี 2505 จนถึงปี 2516 มีผลกำไรสูง สามารถมีโบนัสเป็นครั้งแรก นับแต่ตั้งบริษัทฯ การเดินรถอยู่ในระเบียบเรียบร้อยเป็นผลให้บรรดาเจ้าของรถร่วมสามารถ ตั้งตัวได้และมีฐานะมั่งคั่งขึ้น
     ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า บขส. นี้เป็นสิ่งจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องให้มีอยู่ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น และการที่ บขส. ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบการในเขต 25 จังหวัดแต่เพียงผู้เดียว ไม่ใช่เป็นการมาแย่งอาชีพของเอกชนที่เดินรถอยู่เดิม แต่หากเป็นการช่วยเหลือจัดระบบการเดินรถ ให้เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจและส่วนรวม และขจัดปัญหาการแก่งแย่งซึ่งกันและกันอันเป็นผลให้อุบัติเหตุ น้อยลงตามความประสงค์ของทางราชการ และเพื่อป้องกันรักษาสิทธิของเอกชนที่เดินอยู่เดิม ให้มีสิทธิประกอบอาชีพของตนเองต่อไป โดยไม่ประสงค์จะให้รถเอกชนตกอยู่ในข่ายควบคุมของบุคคลที่
แสวงหาผลประโยชน์ของการกระทำ ของผู้อื่นอันเป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชน และก็เข้ามาดำเนินการเป็นการชั่วคราวในระหว่าง ที่เอกชนยังไม่สามารถรวมกันได้เท่านั้น ถ้าหากเอกชนที่ร่วมอยู่นี้สามารถจะรวบรวมกันองให้เป็นปึกแผ่น โดยรวมกันจัดตั้งเป็นบริษัทของตนเพื่อดำเนินการเองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ ตามที่ทางราชการประสงค์แล้ว บขส. ก็พร้อมที่จะมอบสิทธิการเดินรถในเส้นทางนั้น ๆ ให้รับไปดำเนินการเว้นแต่สายหลักซึ่ง บขส. มีความจำเป็นต้องสงวนไว้ดำเนินการ เพื่อนโยบายของทางราชการเท่านั้น เหตุผลที่รัฐบาลจำเป็นต้องให้มี บขส. เพื่อเป็นแกนกลางในการบริหารการเดินรถกล่าวคือ
1. เป็นแบบอย่างให้เอกชนปรับปรุง กิจการของตนให้อยู่ในมาตรฐานที่ดีขึ้น ดังจะทราบได้ดีว่า เมื่อก่อนที่ บขส. ได้จัดตั้งขึ้นนั้น ได้มีเอกชนดำเนินการขนส่งอยู่บ้างแล้ว แต่หากได้กระทำไปตามฐานะและความสามารถของแต่ละบุคคล ขาดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงที่ จะขยายกิจการของตนให้เป็นล่ำเป็นสันได้เท่าที่ควร จะมีอยู่บ้างที่กระทำในนามของนิติบุคคลแต่ก็เป็นส่วนน้อย รัฐบาลจึงเห็นเป็นการจำเป็นที่จะได้จัดตั้ง บขส.ขึ้นเป็นรูปนิติบุคคล มีทุนทรัพย์จดทะเบียนมากพอสมควรที่จะสามารถดำเนินกิจการให้เป็นปึกแผ่นได้ และได้พยายามที่จะนำยานพาหนะที่เหมาะสมกับกาลสมัยมาดำเนินการ และจัดวางระเบียบมาตรการในการดำเนินงานให้เป็นระเบียบ เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างให้เอกชนอื่น ได้ดำเนินการตามซึ่งจะเป็นเหตุให้กิจการขนส่งได้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะเป็นที่รู้อยู่แล้วว่าประชาชนผู้ใช้บริการมีความประสงค์จะให้ได้รับความสะดวกสบาย แน่นอน และเสียค่าโดยสารในราคาที่พอสมควรเมื่อ บขส. ได้นำรถที่ดี มีระเบียบกำหนดเวลาออกที่แน่นอน และควบคุมการขับให้อยู่ในระเบียบวินัย ไม่ขับเร็ว และคิดค่าโดยสารในอัตราที่พอสมควร ก็ย่อมทำให้ประชาชนนิยมจึงเป็นเหตุให้เอกชน จำต้องปรับปรุงกิจการของตนให้ดีขึ้นมาด้วย มิฉะนั้นประชาชนก็ไม่นิยม
2. ตรึงอัตราค่าโดยสารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า ถ้าในท้องถิ่นใดมีเจ้าของรถบริการอยู่รายเดียวหรือน้อยรายอัตราค่าโดยสารก็สูง ถ้ามีมากรายแข่งขันหรือแก่งแย่งผู้โดยสาร อัตราค่าโดยสารก็ต่ำ บางแห่งถึงกับแข่งขันลดราคาจนต่ำกว่าราคาทุน เพื่อเจตนาจะให้ฝ่ายตรงข้างต้องเลิกล้มกิจการไป แล้วตนก็จะได้ถือโอกาสขึ้นค่าโดยสารสูงขึ้นในภายหลังจึงก่อให้เกิดการขับรถเร็ว ขับแซง เพื่อประสงค์จะแย่งผู้โดยสารอันเป็นผลให้เกิดอุบัติเหตุและไม่ปลอดภัยแก่ประชาชนผู้โดยสาร เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวแล้ว รัฐบาลจะทำอย่างไรจึงจะป้องกันอุบัติเหตุ และป้องกันมิให้เอกชนเรียกเก็บค่าโดยสารแพง จนเป็นเหตุให้ประชาชนต้องได้รับความเดือนร้อนได้ นอกจากจะให้ บขส. ซึ่งเป็นของรัฐบาลเข้าไปเดิน เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้บริการ และให้เก็บค่าโดยสารในทางที่เป็นธรรม เมื่อ บขส. จัดรถยนต์ของตนเข้าไปเดินร่วมในเส้นทางนั้น ๆ แล้ว รถของเอกชนก็ไม่กล้าที่จะขึ้นค่าโดยสารได้ตามชอบใจ หากจะขึ้นค่าโดยสารแพงประชาชนก็หันมาขึ้นรถของ บขส. ได้ และก็ไม่มีทางที่จะลดราคาเพื่อประสงค์ให้ บขส. ต้องเลิกล้มไปได้ เพราะเป็นบริษัทของรัฐบาลฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าการที่ บขส. มีรถเข้าไปเดินร่วมนี้เป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะตรึงอัตราค่าโดยสารมิให้เอกชนเรียกเก็บสูง จนเป็นเหตุให้ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อน
3. เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในยามจำเป็น เพื่อผลของส่วนรวม ถ้าสมมุติว่ารัฐบาลไม่มีรถยนต์สำหรับใช้ในการขนส่งของตนเองบ้างแล้ว ในเมื่อมีเหตุการณ์คับคันอันเป็นผลกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยของส่วนรวม หรือประเทศชาติแล้ว รัฐบาลจะทำอย่างไรดังเช่นที่ปรากฏข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ที่แล้ว ๆ มาคือ เมื่อคราวเกิดกรณีพิพาทกับอินโดจีน ฝรั่งเศส แม้ทางราชการจะได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก และมีกฎหมายให้อำนาจที่จะเรียกเกณฑ์ ยานพาหนะของเอกชนมาใช้ได้ก็จริง แต่ในทางปฏิบัติจะประสบข้อยุ่งยากมากมาย เพราะเอกชนก็ไม่อยากจะใช้รถของตนเองไว้บ้างแล้ว ก็ย่อมจะขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวไปได้ และอีกประการหนึ่ง ถ้ารัฐบาลไม่มีรถยนต์ของตนเองมีแต่รถยนต์ ซึ่งเป็นของเอกชนฝ่ายเดียวแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้จำต้องยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลของเอกชนได้โดยง่าย เช่น ถ้าหากเขาขอขึ้นค่าโดยสาร ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชน ไม่ยอมให้ขึ้น สมมติว่าเจ้าของรถต่างก็หยุดเดินโดยอ้างว่าขาดทุน จึงไม่เดินเช่นนี้ ความอลเวงและความเดือดร้อนของประชาชนจะเป็นอย่างไร ตรงกันข้าม ถ้ารัฐบาลมีรถยนต์ของตนเองอยู่บ้าง ดังเช่นรถยนต์ของ บขส. และ รสพ. ในขณะนี้แล้ว เอกชนจะไม่กล้ากระทำเช่นนี้ได้เลย นอกจากนั้นทางราชการยังจะได้อาศัยรถยนต์ของ รัฐนี้เป็นเครื่องมือในการที่จะตรวจสอบ หรือโต้แย้งข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของเอกชนได้เป็นอย่างดี เช่น เรียกร้องขอขึ้นค่าโดยสาร เป็นต้น ทางราชการอาจเอาเหตุผล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการที่รัฐบาลมี รถยนต์ของตนเองนี้ก็เพื่อไว้เป็นเครื่องดุลย์อำนาจ หรือเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในยามจำเป็นเพื่อผล ของประเทศชาติและส่วนรวมนั่นเอง
4. ช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความสะดวก คงเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเอกชนมาดำเนิน กิจการขนส่งก็เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์กำไร จึงมุ่งที่จะดำเนินการเฉพาะในท้องถิ่น หรือเส้นทางที่ตนเห็นว่ามีกำไร ไม่มีใครที่ปรารถนาจะไปดำเนินกิจการในเส้นทางหรือ ท้องถิ่นที่มีผลรายได้ไม่คุ้มค่า หรือเส้นทางที่เป็น PSO (Public Service Obligation) แต่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพยายาม หาทางอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน แม้เส้นทางใดหรือท้องถิ่นใดที่เอกชนไม่ประสงค์จะไปบริการ เมื่อเห็นว่าประชาชนเดือดร้อน เกี่ยวกับการขนส่งแล้ว ก็ได้สั่งการให้ บขส. รับไปดำเนินการจะต้องขาดทุนก็ต้องทำเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ดังจะเห็นได้ว่า บขส. เดินรถจากลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี และค่าธนะรัชต์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เข้ามาถึงพระนคร ก็เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกแก่ทหารที่มีรายได้น้อย แม้ขณะนั้นการเดินรถดังกล่าวต้องขาดทุน บขส. ก็ต้องทำเหล่านี้เป็นต้น
5. ผลในทางยุทธศาสตร์และกิจกรรมของทางราชการทหาร การขนส่งหาใช่ เพื่อผลในทางด้านเศรษฐกิจและเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนแต่เพียงเท่านั้นไม่ ยังมีผลในทางยุทธศาสตร์ และกิจการของราชการทหารอีกด้วย เพราะการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารเพื่อต่อต้านข้าศึกศัตรู ย่อมจะต้องอาศัยการขนส่งด้วยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ ถ้ารัฐบาลไม่มียานพาหนะของตนเองไว้เพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าวบ้างแล้ว ก็อาจเป็นผลเสียหายแก่ส่วนรวมได้ จะเลิกล้มเสียมิได้ หาได้มีจุดหมายที่จะมาแย่งอาชีพของเอกชนดัง ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์แต่ประการใดไม่ ตรงกันข้าม บขส. มีนโยบายที่จะช่วยป้องกันและรักษาสิทธิของเอกชน เพื่อมิให้ถูกผู้อื่นมาใช้อำนาจในทางที่ไม่เป็นธรรม

     ปัจจุบันสถานที่ตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้ย้ายจากสถานที่ทำการเดิมที่ตลาดหมอชิต มาเช่าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในพื้นที่ 72 ไร่ 2 งาน 92 ตารางวา ที่ ถ.กำแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร โดยใช้ชื่อที่ทำการว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.2536 กรุงเทพมหานคร โดยร้อยเอกกฤษดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา และพันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในขณะนั้น ขอความร่วมมือกรมการขนส่งทางบก และ บขส. เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ตลาดหมอชิต ในการจัดสร้างโรงจอดรถและซ่อมบำรุง รถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (B.T.S) ให้เป็นประโยขน์ต่อสาธารณชน สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนผู้โดยสารดีขึ้น ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2541 เป็นต้นมา
     สำหรับกิจการเดินรถโดยสารมีการเดินรถทั้งหมด 309 เส้นทาง แบ่งเป็นการเดินรถบริษัทฯ เอง 6 เส้นทางเส้นทางที่รถบริษัทฯและรถร่วมเดินร่วมกัน 97 เส้นทาง และเดินรถเฉพาะรถร่วม 206 เส้นทาง จำนวนรถโดยสารทั้งสิ้น 8,152 คัน แบ่งเป็นรถบริษัทฯ 883 คันและรถร่วม 7,269 คัน บขส. เดินรถเองเพียงร้อยละ 10.83
  ผลประกอบการในห้วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งกิจการบริษัทฯ และกิจการรถร่วมเอง ต่างก็ขยายกิจการได้รับความเจริญ และพัฒนาจนเป็นที่ พึงพอใจและผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เสมือนพ่อปกครอง ดูแลครอบครัวและลูก ๆ รวมถึงความรับผิดชอบต่อภาครัฐ ทั้งในรูปเงินภาษี เงินปันผลและการให้บริการเชิงสังคม เช่น ในปีงบประมาณ 2542 บริษัทฯ มีกำไรก่อนหักภาษีฯ จำนวน 427.184 ล้านบาท บริษัทฯ นำส่งเงินรายได้เข้ารัฐแบ่งเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวน 118.987 ล้านบาท เงินปันผล จำนวน 153.617 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 272.604 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.81 ของกำไรจากการดำเนินงาน โดยไม่เคยขอรับการสนับสนุนงบประมาณใด ๆ จากภาครัฐ เปรียบได้ว่า บขส. เป็นกิจการที่พัฒนา มีวิสัยทัศน์ไกล แปรรูปกิจการมาแล้วตั้งแต่อดีต จน ณ วันนี้ 75 ปี บริบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น